ความรู้ที่ได้รับ
บทบาทของครู
•ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
•ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
•จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
•ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
•เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
•การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะ
พัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุขพูดกับเด็กเยอะๆเพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์
กิจกรรมการเล่น(อยากเล่นแต่ไม่รู้วิธีการเล่น)
•การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
•เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
•ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน
ยุทธศาสตร์การสอน
•เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
•ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
•จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
•ครูจดบันทึก
•ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
•วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
•คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
•ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
•เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษเรียนรู้ด้วยการเลียนแบบ
เช่น ทำตามเพื่อน
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
•อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
•ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
•ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป อย่าชมเชยที่ผลงานเด็ก
ให้ชมเด็กเกี่ยวกับการกระทำ เช่น ตั้งใจทำงานมากเลย ทำงานจนเสร็จเลย
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
•ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
•ทำโดย “การพูดนำของครู”
การเข้าหาเด็กพิเศษ(การให้เด็กพิเศษเข้าไปเล่นกับกลุ่มเพื่อน)
1.เรียกชื่อ
2.สัมผัสตัว เช่น จับไหล่ จับมือ
3.ลองถามว่าอยากเข้าไปเล่ยไหม ถ้าเด็กไม่ตอบให้ถามซ้ำ
4.ก่อนเด็กเข้าไปเล่น อาจมีของเล่นให้เด็ก เพื่อสร้างความสนใจให้เพื่อน
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์ เรียนรวมเด็กทุกคนเท่าเทียมกัน
•ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
•การให้โอกาสเด็ก
•เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
•ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
2. ทักษะภาษา
•เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
•ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
•ถามหาสิ่งต่างๆไหม
•บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
•ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
•การพูดตกหล่น
•การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
•ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
•ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
•ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ” “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด”
•อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
•อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
•ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
•เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยินให้พูดว่า หนูพูดใหม่อีกทีซิลูก
ครูได้ยินไม่ถนัด
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
•ทักษะการรับรู้ภาษา
•การแสดงออกทางภาษา
•การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
•การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
•ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
•ให้เวลาเด็กได้พูด
•คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
•เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
•เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
•อยากทำงานตามความสามารถ
•เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
•การได้ทำด้วยตนเอง
•เชื่อมั่นในตนเอง
•เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
•ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
•ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
•ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
•“ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
•เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง(การย่อยงาน)
•แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
•เรียงลำดับตามขั้นตอนการบอกเป็นลำดับขั้นตอน ในการทำงานแต่ละชิ้น
การเข้าส้วม
•เข้าไปในห้องส้วม
•ดึงกางเกงลงมา
•ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
•ปัสสาวะหรืออุจจาระ
•ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
•ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
•กดชักโครกหรือตักน้ำราด
•ดึงกางเกงขึ้น
•ล้างมือ
•เช็ดมือ
•เดินออกจากห้องส้วม
4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
•การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
•มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
•เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”
•พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
•อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
•ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
•จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
•เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
•เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
•คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
ความจำ
•จากการสนทนา
•เมื่อเช้าหนูทานอะไร
•แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
•จำตัวละครในนิทาน
•จำชื่อครู เพื่อน
•เล่นเกมทายของที่หายไป
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
•จัดกลุ่มเด็ก
•เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
•ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
•ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
•ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
•ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
•บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
•รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
•มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
•เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
•พูดในทางที่ดี
•จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
•ทำบทเรียนให้สนุก
การนำไปประยุกต์ใช้ สามารถนำความรู้ที่ได้นี้ไปทำการเขียนแผนการ
เรียนรู้เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ให้เด็กได้
ประเมินตนเอง มีความสนุกสนาน และตั้งใจรับความรู้อย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน เพื่อนๆมีคสามสนุกสนานกับการเรียน และเตรียมตัว
สอบกัน
ประเมินอาจารย์ เตรียมเนื้อหาการสอนอย่างดีปละครบถ้วน
เป็นกันเองกับนักศึกษา